10 วิธีแก้ เข่าฝืด หลังจากตื่นนอนเข่าฝืดเกิดจากอะไรและควรทำยังไงดี

0
80
เข่าฝืด-หลังจากตื่นนอนเกิดจากอะไรและควรทำยังไงดี

10 วิธีแก้ เข่าฝืด หลังจากตื่นนอนเข่าฝืดเกิดจากอะไรและควรทำยังไงดี ?

เข่าฝืด หลังจากตื่นนอนเกิดจากอะไรและควรทำยังไงดี ? อาการเข่าฝืดนั้นเป็นหนึ่งในอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งเกิดขึ้นได้จากการสึกหรอและเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนบริเวณเข่า ส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุที่มีอายุ 50 ปีเป็นต้นไป อีกทั้งเมื่อกล้ามเนื้อบริเวณเข่าที่มีหน้าที่ช่วยพยุงหัวเข่าไม่แข็งแรง

เข่าจึงต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้นและหากมีน้ำหนักตัวเยอะก็จะยิ่งเสี่ยงกระดูกอ่อนของหัวเข่าและข้อต่อเสื่อมได้เร็วขึ้น แถมยังทำให้มีอาการปวดบริเวณข้อเข่า ปวดขาเมื่อยืนหรือเดินเป็นเวลานาน

โดย “อาการเข่าฝืด” ที่เกิดขึ้นหลังจากตื่นนอนหรือเมื่อต้องทำอิริยาบถเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานานอย่างเช่นการนั่ง ยืน เดิน และต้องมีการเปลี่ยนไปอิริยาบถอื่น จะลุกขึ้นเดิน งอเข่า หรือ เหยียดขาก็รู้สึกฝืดต้องใช้เวลาในการยืดเยียดข้อเข่าอยู่พักนึ่ง

อาการแบบนี้นั้นมีสาเหตุมาจากการที่น้ำหล่อเลี้ยงภายในข้อเข่ามีปริมาณที่ลดน้อยลง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวไม่ราบรื่น หรืออาจเกิดขึ้นได้จากการที่หมอนรองกระดูกได้รับสารอาหารไม่เพียงพออีกด้วยค่ะ – เข่าฝืด ทำไงดี

อาการเบื้องต้นที่แสดงเมื่อเกิดข้อเข่าเสื่อม

  • อาการเจ็บเสียวที่บริเวณข้อเข่า
  • อาการข้อเข่าฝืดตึง ยืดงอ ลำบาก
  • ข้อเข่ามีรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไป
  • เกิดเสียงดังขึ้นในข้อเข่า
  • อาการเจ็บเสียวที่ข้อเข่าเมื่อทิ้งน้ำหนักหรือเคลื่อนไหว
  • อาการปวดเข่า เข่าบวม อักเสบ เคลื่อนไหวลำบาก

อาการเบื้องต้นที่แสดงเมื่อเกิดข้อเข่าเสื่อม

สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม ต้นเหตุของอาการเข่าฝืด

เสื่อมตามสภาพผิวกระดูกอ่อนตามวัย ได้แก่

  • เพศ มีการศึกษาที่พบว่าอาการข้อเข่าเสื่อมนั้นจะพบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 2 -3 เท่า ทั้งนี้อาจมีผลสืบเนื่องมาจากการทำงานของต่อมไร้ท่อของร่างกาย
  • น้ำหนักตัว น้ำหนักตัวที่มากเกินไปก็มีความสัมพันธ์กับข้อเข่าเสื่อม โดยพบว่า 0.5 กิโลกรัม ของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มแรงกดที่กระทำต่อข้อเข่าได้ถึง 1 – 1.5 กิโลกรัม
  • อายุ โดยพบว่าเมื่ออายุ 40 ปี ขึ้นไปแล้วเริ่มมีอาการข้อเสื่อม พอถึงอายุ 60 ปี จะเสี่ยงเป็นข้อเข่าเสื่อมได้ถึงร้อยละ 40%
  • การใช้งาน อิริยาบถทาท่างที่มีแรงกดต่อเข่ามากๆ อย่างการนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่าเป็นเวลานานๆหรือการเดินขึ้น – ลงบันไดบ่อยๆ
  • ความผิดปกติของข้อ  อย่างอาการข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อบริเวณต้นขาอ่อนแรง

เสื่อมแบบที่ทราบสาเหตุ คือการเสื่อมที่เกิดขึ้นจากการได้รับอุบัติเหตุแล้วบาดเจ็บที่บริเวณข้อต่อและเส้นเอ็น หรือบาดเจ็บเรื้อรังจากการออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือ ทำกิจวัตรประวัน อีกทั้งโรคที่เกิดขึ้นกับข้ออย่าง เก๊า ข้ออักเสบที่เกิดจากรูมาตอยด์ และโรคอ้วนที่เกิดจากต่อมไร้ท่อเป็นต้นค่ะ

แนวทางถนอมข้อเข่าลดอาการเข่าฝืด

แนวทางถนอมข้อเข่าลดอาการเข่าฝืด

  1. ควรออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้อรอบๆบริเวณข้อเข่าอยู่ตลอด อย่างเช่นการปั่นจักรยานและว่ายน้ำจะช่วยได้ดีค่ะ
  2. เลี่ยงการออกกำลังกายที่มีการกระโดดหรือใช้ข้อเข่าบ่อยๆอย่าง การวิ่ง ฟุตบอล เทนนิส บาสเกตบอล หรือเล่นกีฬาที่ต้องกระทบกระแทกรุนแรงอย่าง เทควันโด ยูโด และ อเมริกันฟุตบอลเป็นต้นค่ะ
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อควบคุมน้ำหนักให้ได้ตามค่าดัชนีมวลกาย BMI เพื่อลดแรงกระแทกและแรงกดที่เกิดกับข้อเข่า
  4. ไม่ใช้อิริยาบถที่ทำแรงกดกับข้อเข่าซ้ำๆ เช่น การนั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ การนั่งไขว้ขา หรือมีการบิดหมุนเข่า การยกของที่มีน้ำหนักเยอะๆ หรือ การเดินขึ้น – ลงบันได เป็นต้นค่ะ

10 วิธีแก้ เข่าฝืด การดูแลเมื่อมีอาการเข่าฝืดข้อเข่าเสื่อมเบื้องต้นควรทำ ดังนี้

การประคบร้อน

1. วิธีแก้ เข่าฝืด กับบรรเทาอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณเข่า โดยใช้การประคบร้อน

เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อรอบเข่า

2. เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อรอบเข่า เพื่อช่วยลดแรงกระทำต่อข้อเข่า

ใช้สนับเข่ากระชับข้อเข่าบรรเทาอาการปวด

3. ใช้สนับเข่ากระชับข้อเข่าบรรเทาอาการปวด “แต่ไม่แนะนำให้ใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน”เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้อบริวเณเข่าลีบได้

ควรหลีกเลี่ยงอิริยาบถท่าทางที่ไม่เหมาะสม

4. ควรหลีกเลี่ยงอิริยาบถท่าทางที่ไม่เหมาะสม เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น โดยเฉพาะการนั่งไม่ว่าจะนั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ คุกเข่า ควรหลีกเลี่ยงและปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับกิจวัตรประจำวันค่ะ

นั่งบนเก้าอี้ควรนั่งเก้าอี้ที่มีความสูงระดับเข่า

5. ท่านั่งหากนั่งบนเก้าอี้ควรนั่งเก้าอี้ที่มีความสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าราบกับพื้นได้พอดี ไม่ควรนั่งราบกับพื้นเพราะจะยิ่งทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้น

ควรนอนบนเตียงที่ความสูงเท่ากับเข่าพอดี

6. การนอนควรนอนบนเตียงที่มีความสูงระดับเท่ากับเข่าพอดี สามารถนั่งห้อยขาได้โดยให้ฝ่าเท้าแตะพื้นพอดี ไม่แนะนำให้นอนราบไปกับพื้น เนื่องจากเวลาจะลุกจะนอนต้องงอเข่าทำให้ผิวข้อเสียดสีกันข้อก็จะเสื่อมเร็วขึ้น

ยืนตรงแล้วกางขาออกเล็กน้อย

7. ท่ายืน แนะนำให้ยืนตรงแล้วกางขาออกเล็กน้อย จะช่วยถ่ายเทน้ำหนักลงบนขาสองข้างได้เท่าๆกัน ไม่ควรยืนเอียงตัวเพราะจะมีการเทน้ำหนักลงขาข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้เข่าที่รับน้ำหนักมากกว่ามีอาการปวดได้ค่ะ

8. การเดิน ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ต่างระดับกันอย่างทางลาดเอียง ทางสูงชัน บันไดหรือทางที่มีผิวขรุขระ เป็นแอ่ง เป็นหลุม เพราะน้ำหนักตัวจะกดลงไปที่เข่ามากขึ้น อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือหกล้มได้ง่าย อีกทั้งควรใส่รองเท้าส้นเตี้ยมีขนาดที่กระชับพอดีก็จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ดีขึ้นค่ะ

ไม้เท้า-หรืออุปกรณ์ช่วยพยุงอื่นๆ

9. ไม้เท้า หรืออุปกรณ์ช่วยพยุงอื่นๆ เป็นตัวช่วยที่แบ่งแรงกดที่กระทำต่อข้อเข่า เพิ่มความมั่นคงในการเคลื่อนไหว แถมยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ ลื่น หกล้ม ของผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมได้ดี

ลดน้ำหนักลดแรงกดข้อเข่า

10. ลดน้ำหนัก โดยปกติแล้วร่างกายของเราเวลายืน เดิน ข้อเข่าจะต้องแบกรับน้ำหนักตัว 3 – 4 เท่ากันเลยนะคะ ซึ่งหากเป็นผู้ที่มีน้ำหนักตัวเยอะ ข้อเข่าก็จะต้องแบกรับน้ำหนักมากกว่าปกติ ดังนั้นการลดน้ำหนักตัวจึงช่วยลดแรงกดกระทำต่อข้อเข่าได้ดีอีกทางค่ะ

นอกจากนี้ยังมีตัวช่วยป้องกันและดูแลไม่ให้เกิดอาการข้อเข่าฝืดหลังตื่นนอน ที่ดีอีกหนึ่งอย่างนั่นคือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงกระดูกและข้อต่อที่ดีที่สุด “ศิริญญาแคลเซียม” Sirinya UC II Calcium แคลเซียมผงชงดื่ม โดยหมอจุฬา

ศิริญญาแคลเซียมแก้เข่าฝืด

เป็นแคลเซียมเกรดพรีเมียมที่ผสมคอลลาเจนไทพ์ทู วิตามิน ซี ดี และ เค1 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและข้อต่อ บรรเทาอาการปวด อักเสบ บวม เสียว ฝืด ตึง ติดขัดของข้อต่อและกระดูก ช่วยให้เคลื่อนไหวได้ราบรื่นมากยิ่งขึ้น เมื่อทานเป็นประจำยังมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงปัญหากระดูกเสื่อม ข้อเสื่อม ได้ดีอีกด้วยค่ะ

สอบถาม สั่งซื้อ เพิ่มเพื่อนได้เลยจ้า

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sirinyacalcium.com